Home » กลยุทธ์ลดอุบัติเหตุในการทำงาน เพิ่มความปลอดภัยให้พนักงาน

กลยุทธ์ลดอุบัติเหตุในการทำงาน เพิ่มความปลอดภัยให้พนักงาน

by admin
7 views
กลยุทธ์ลดอุบัติเหตุในการทำงาน

อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย บทความนี้จะเน้นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงาน เช่น ลูกจ้างตกจากที่สูงขณะทำงานบนหลังคา ถูกใบเลื่อยบาดขณะเลื่อยไม้ หรือถูกสารเคมีกระเด็นเข้าตาขณะผสมสารเคมี เป็นต้น

ความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงาน

การป้องกันอุบัติเหตุในสถานประกอบการถือเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอุบัติเหตุไม่เพียงทำให้เกิดความสูญเสียทางร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและการปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังช่วยลดความเสี่ยงและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานทุกคน

สาเหตุของอุบัติเหตุในการทำงาน

สาเหตุของอุบัติเหตุในการทำงาน

อุบัติเหตุจากการทำงานมักเกิดจากสองปัจจัยหลัก ได้แก่ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย และ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

1. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย

การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเกิดจากพฤติกรรมหรือการปฏิบัติงานของพนักงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น:

      1. ใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
      2. ทำงานเร็วเกินสมควร หรือใช้อุปกรณ์ในอัตราที่เร็วเกินกำหนด
      3. ซ่อมแซมเครื่องจักรในขณะเครื่องยังทำงาน
      4. ถอดอุปกรณ์ความปลอดภัยโดยไม่มีเหตุสมควร
      5. หยอกล้อกันในขณะทำงาน
      6. ทำงานในพื้นที่ที่ไม่ปลอดภัย
      7. ใช้เครื่องมือชำรุดหรือผิดวิธี
      8. ยกหรือเคลื่อนย้ายวัสดุ ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม
      9. ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE)
      10. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือป้ายเตือนต่าง ๆ

2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยคือสภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ ตัวอย่างเช่น:

      1. ไม่มีการครอบคลุมส่วนที่หมุนได้ของเครื่องจักร
      2. การ์ดเครื่องจักรไม่ปลอดภัย หรือไม่เหมาะสม
      3. เครื่องจักร หรือ เครื่องมือออกแบบไม่เหมาะสม
      4. พื้นที่ทำงานลื่นหรือสกปรก
      5. การวางของไม่เป็นระเบียบ กีดขวางทางเดิน
      6. การซ้อนวัสดุสูงเกินไปหรือไม่ถูกวิธี
      7. การจัดเก็บสารเคมี หรือสารไวไฟไม่เหมาะสม
      8. แสงสว่างไม่เพียงพอ หรือมีแสงจ้าจนเกินไป
      9. ไม่มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม

ความบกพร่องของการบริหารจัดการ

การขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในสถานประกอบการ การละเลยในการดำเนินโครงการความปลอดภัย การไม่ใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยง

ตามโรงงานอุตสาหกรรมมักจะมีตำแหน่งที่เรียกว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ที่จะแบ่งตามเป็นระดับต่างๆ แต่ทุกระดับถูกตั้งมาเพื่อดูแลความปลอดภัยในการทำงานของ พนักงานในองค์กรนั้นๆ

 

โดยผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นจป ไม่ว่าจะเป็น จป หัวหน้างาน จป บริการ จป เทคนิค ต้องผ่านการอบรมและได้รับใบเซอร์ จป ตำแหน่งนั้นๆ เช่น จป บริหาร ก็ต้องได้รับ ใบเซอร์ จป บริหาร จากที่ฝึกอบรม เพื่อที่จะนำไปขึ้นทะเบียนเป็น  เป็น จป  อย่างถูกต้อง (เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่จำเป็นต้องทำ)

ความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีอะไรบ้าง

ความสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ มีอะไรบ้าง

ความสูญเสียจากอุบัติเหตุสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ความสูญเสียทางตรง และ ความสูญเสียทางอ้อม

1. ความสูญเสียทางตรง

ความสูญเสียทางตรงหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรงจากอุบัติเหตุ เช่น:

      1. ค่ารักษาพยาบาล
      2. ค่าทดแทน
      3. ค่าทำขวัญและค่าทำศพ
      4. ค่าเบี้ยประกันชีวิต

2. ความสูญเสียทางอ้อม

ความสูญเสียทางอ้อมเป็นค่าใช้จ่ายที่มักคำนวณเป็นตัวเงินได้ยาก เช่น:

1. เสียเวลาทำงานของ:

      • ผู้บาดเจ็บที่ต้องหยุดงานเพื่อรักษาพยาบาล
      • เพื่อนร่วมงานที่หยุดงานชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือหรือวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์
      • หัวหน้างานที่ต้องสอบสวนและรายงานเหตุการณ์

2. ค่าซ่อมแซมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เสียหาย

3. วัตถุดิบหรือสินค้าที่เสียหาย

4. ผลผลิตลดลงเนื่องจากกระบวนการผลิตหยุดชะงัก

5. ค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสำหรับผู้บาดเจ็บ

6. เสียโอกาสทางการค้า

7. เสียชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร

8. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า แม้ว่าต้องหยุดกิจการชั่วคราว

ผลกระทบต่อพนักงานและองค์กร

พนักงานที่บาดเจ็บหรือพิการจากอุบัติเหตุอาจไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ และกลายเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม ในขณะที่องค์กรอาจต้องเผชิญกับการสูญเสียทางเศรษฐกิจ การลดลงของกำลังการผลิต และความเสียหายต่อชื่อเสียง

ฝึกอบรมและสร้างจิตสำนึกในพนักงาน

แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุในที่ทำงาน ต้องทำอย่างไรบ้าง

1. ฝึกอบรมและสร้างจิตสำนึก

      • จัดอบรมพนักงานเกี่ยวกับความปลอดภัย หรืองานที่มีความเสี่ยงอย่าง งานที่สูง งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี นายจ้างก็ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรนั้นๆ ให้กับพนักงานก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
      • สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงานอย่างระมัดระวัง

2. บำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์

      • ตรวจสอบเครื่องจักร และอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
      • ซ่อมแซมและบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานเสมอ

3. จัดการสภาพแวดล้อมการทำงาน

      • จัดพื้นที่ทำงานให้เป็นระเบียบ
      • จัดเก็บสารเคมี หรือวัตถุอันตรายให้เหมาะสมกับประเภทของสารเคมี
      • ติดตั้งระบบระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอ

4. ใช้มาตรฐานความปลอดภัย

      • ใช้มาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
      • จัดทำแนวปฏิบัติ และตรวจสอบการปฏิบัติ ตามมาตรฐาน

สรุป

การป้องกันอุบัติเหตุในสถานประกอบการเป็นหน้าที่ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ทั้งพนักงาน ฝ่ายบริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรช่วยลดความเสี่ยงและสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยจะสามารถลดความสูญเสียและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้ในระยะยาว


อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by entrepreblog